เกาะหมากเกาะเล็กๆซึ่งตั้งอยู่ตรงกลางระหว่างเกาะช้าง และ เกาะกูด เกาะนี้มีเนื้อประมาณ 9,000 ไร่ โดยเกาะนี้มีเจ้าของ คือ ตระกูลตะเวทีกุล เพียงตระกูลเดียวจากอดีต จนถึงปัจจุบัน ราวๆ 100 ปีเศษ สำหรับผู้บุกเบิกเกาะหมากคนแรกนี้คือ หลวงพรหมภักดี ต้นตระกูล ซึ่งเป็นต้นตระกูล ตะเวทีกุล  หลวงพรหมภักดี เป็นผู้เข้ามาครอบครองเกาะหมากเป็นคนแรกเมื่อปี พ.ศ.2447 โดยซื้อจากเจ้าของเดิมชื่อ เจ้าสัว เส็งปลัดจีนในสมัยสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งเข้ามาจับจองทำสวนมะพร้าวไว้ในราคา 300 ชั่ง (ชั่งละ 80 บาท ) จนกระทั่งปี พ.ศ. 2453 จึงได้อพยพครอบครัวมาตั้งรกรากที่เกาะหมาก ทำสวนมะพร้าวขนาด 3,000 - 4,000 ไร่ และสร้างบ้านเรือนอยู่ที่บริเวณอ่าวสวนใหญ่ซึ่งมีหาดทรายอันสวยงาม มองเห็นเกาะข้างเคียงได้ชัดเจน เรียกกันว่า บ้านสวนใหญ่

หลวงพรหมภักดีได้แต่งงานกับนางมู่ลี่ มีบุตร
7 คน ธิดา 4 คน รวม 11 คน และต่อมาแต่งงานกับนางทิม มีบุตรชายอีก 1 คน ปัจจุบันนี้ตระกูลตะเวทีกุล ได้สืบทอดกันมา 5 – 6 ช่วงอายุคน แล้วและยังเป็นเจ้าของเกาะหมากแห่งนี้อีกด้วย โดยปัจจุบันนี้นายกอบต. เกาะหมากคนปัจจุบัน คือ นายจักรพรรดิ์ ตะเวทีกุล ผู้เป็นทายาท รุ่นที่ 4 ยังเป็น เป็นเจ้าของเกาะหมากรีสอร์ตอีกด้วยผู้ครอบครองที่ดินส่วนใหญ่เป็นญาติพี่น้องกัน ประกอบด้วย 5 ตระกูลใหญ่ คือ ตะเวทีกุล, วงษ์ศิริ , สุทธิธนกูล , จันทสูตร , และสุขสถิต เกาะหมากมีพื้นที่ทั้งหมดราวๆ 9,500  ไร่เป็นที่สาธารณะประโยชน์ 500 ไร่ ที่เหลือประมาณ 9,000 ไร่ เป็นสวนยางพาราและมะพร้าวเกือบทั้งหมด

ที่มาของชื่อเกาะหมากนั้นจริงๆแล้ว มาจากคำพ้องเสียงของคำว่า หมากป่า ซึ่งเป็นพันธุ์ไม้ชนิดหนึ่งที่ในอดีตมีอยู่เป็นจำนวนมากบนเกาะ

ปัจจุบันนี้เกาะหมากอาจจะยังเป็นชื่อที่ไม่คุ้นชินนักสำหรับใครๆ เท่กับเกาะช้าง แต่สิ่งหนึ่งที่เกาะหมากมีดีและเหมือนเกาะไหนเลยคือ การรณรงค์ Low cabon ซึ่งลดมลพิษต่อสิ่งแวดล้อม จึงทำให้เกาะหมากนั้นมีเอกลักษณ์เด่นเฉาพะตัวขึ้นมา สำหรับนักท่องเที่ยวท่านใดที่ไม่เคยสัมผัสวิถีชีวิตพื้นบ้าน แบบ Low cabon อยากให้ลองเปิดใจมาเที่ยวดูบ้างเกาะมาก แล้วคุณจะหลงรักความธรรมดานี้

รายละเอียดเพิ่มเติม